การใช้ประโยชน์ ของ สาเก (พรรณไม้)

ผลสาเกนำไปต้มหรืออบจะได้เนื้อนุ่มเหมือนก้อนแป้ง ใช้ทำขนม เช่น เชื่อม แกงบวด ชาวอินโดนีเซียนำสาเกไปอบกรอบใช้เป็นอาหารว่าง และมีการนำไปป่นเป็นแป้งเพื่อทำขนมปังกรอบ เนื้อสาเกมีพลังงานสูง ให้แคลเซียมและวิตามินเอสูง ช่วยป้องกันโรคหัวใจและกระดูกพรุน ผลแก่ใช้ทำขนมปัง โดยหั่นเป็นชิ้นบางๆตากแดดหรืออบแห้ง ในฟิลิปปินส์นำผลสาเกต้มสุกกินกับน้ำตาลและมะพร้าวขูดฝอย หรือเคลือบน้ำตาลแล้วทำให้แห้ง ใบและผลใช้เป็นอาหารสัตว์[1] ยางสาเกนิยมใช้เป็นชันยาเรือและใช้ดักนก ก้านดอกตัวผู้มีเส้นใยนำมาผสมกับใยปอสาใช้ทอผ้า เปลือกลำต้นมีเส้นใย ใช้ทอผ้าได้เช่นกัน เนื้อไม้ใช้ทำเรือแคนู กระดานโต้คลื่น หีบและลังไม้

ผลสาเกดิบ
คุณค่าทางโภชนาการต่อ 100 กรัม (3.5 ออนซ์)
พลังงาน431 kJ (103 kcal)
27.12 g
น้ำตาล11.00 g
ใยอาหาร4.9 g
0.23 g
1.07 g
วิตามิน
วิตามินเอ
(0%)
0 μg
(0%)
0 μg
ไทอามีน (บี1)
(10%)
0.110 มก.
ไรโบเฟลวิน (บี2)
(3%)
0.030 มก.
ไนอาซิน (บี3)
(6%)
0.900 มก.
(9%)
0.457 มก.
วิตามินบี6
(8%)
0.100 มก.
คลอรีน
(2%)
9.8 มก.
วิตามินซี
(35%)
29.0 มก.
วิตามินอี
(1%)
0.10 มก.
วิตามินเค
(0%)
0.5 μg
แร่ธาตุ
แคลเซียม
(2%)
17 มก.
เหล็ก
(4%)
0.54 มก.
แมกนีเซียม
(7%)
25 มก.
แมงกานีส
(3%)
0.060 มก.
ฟอสฟอรัส
(4%)
30 มก.
โพแทสเซียม
(10%)
490 มก.
โซเดียม
(0%)
2 มก.
สังกะสี
(1%)
0.12 มก.
องค์ประกอบอื่น
น้ำ70.65 g
ประมาณร้อยละคร่าว ๆ โดยใช้การแนะนำของสหรัฐอเมริกาสำหรับผู้ใหญ่
แหล่งที่มา: USDA Nutrient Database